เมนู

วัตถุที่ตนได้อาศัยเกิดขึ้นนั่นเอง ฉะนั้น เมื่อทรงเปรียบเทียบ จึงตรัส
พระพุทธพจน์ว่า ยถา อเชฬกา เป็นต้น.
จบสูตรที่ 9

สูตรที่ 10



ว่าด้วยวัสสูปนายิการเข้าพรรษา 2 อย่าง



[256] 10. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา 2 อย่างนี้
2 อย่างเป็นไฉน คือ วัสสูปนายิกาต้น 1 วัสสูปนายิกาหลัง 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา 2 อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ 10

จบกัมมกรณวรรคที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพราะมีเหตุให้เกิดเรื่อง อะไร
เป็นเหตุให้เกิดเรื่อง การโพนทะนาของพวกมนุษย์เป็นเหตุให้เกิดเรื่อง.
เรื่องมีว่า 20 พรรษาตอนปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้ายัง
มิได้ทรงบัญญัติวันเข้าพรรษา ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความผูกพันเรื่องพรรษา
จาริกไปตามสบายทั้งในฤดูร้อน ทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูฝน. พวก
มนุษย์เห็นดังนั้น พากันโพนทะนากล่าวคำเป็นต้นว่า ทำไมพระสมณะ
ศากยบุตร ถึงได้จาริกกันทั้งหน้าหนาวทั้งหน้าร้อนทั้งหน้าฝน. เหยียบ-
ย่ำหญ้าระบัด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต ทำสัตว์เล็ก ๆ มากมายให้ลำบาก

ถึงพวกอัญญเดียรถีย์ที่กล่าวธรรมไม่ดีไม่ชอบเหล่านั้น ก็ยังหยุดพักหลบฝน
นกทั้งหลายยังทำรังที่ปลายต้นไม้หยุดพักหลบฝน ดังนี้ . ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกเรื่อง
นั้นเป็นเหตุ ทรงแสดงสูตรนี้ ตรัสพระพุทธดำรัสเป็นปฐมเพียงเท่านี้
ก่อนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษา ดังนี้. ต่อมา
ทรงทราบว่าพวกภิกษุเกิดวิตกกันว่า ควรเข้าจำพรรษาเมื่อไร จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในฤดูฝน. ต่อมาภิกษุ
ทั้งหลายสงสัยกันว่า วันเข้าพรรษามีกี่วัน พากันกราบทูลความนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดังนั้น เมื่อทรง
แสดงสูตรนี้ทั้งสิ้น จึงตรัสพระพุทธดำรัสเป็นต้นว่า เทวมา ภิกฺขเว ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสูปนายิกา แปลว่า วันเข้าพรรษา.
บทว่า ปุริมิกา ความว่า เมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 พึงเข้าพรรษา
3 เดือนแรก มีวันเพ็ญเดือน 11 เป็นที่สุด. บทว่า ปจฺฉิมิกา ความว่า
เมื่อเดือน 8 ล่วงไป พึงเข้าพรรษา 3 เดือนหลัง มีวันเพ็ญเดือน 12
เป็นที่สุด.
จบอรรถกถาสูตรที่ 10
จบกัมมกรณวรรคที่ 1

อธิกรณวรรคที่ 2



สูตรที่ 1



ว่าด้วยพละ 2 อย่าง



[257] 11. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ2 อย่างนี้ 2 อย่างเป็นไฉน
คือ ปฏิสังขานพละ 1 ภาวนาพละ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิสังขาน-
พละเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า วิบากของ
กายทุจริตแล ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพหน้า วิบากของวจีทุจริต
ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพหน้า วิบากของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้
และในภพหน้า ครั้นเขาพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต เจริญกาย-
สุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโน-
สุจริต บริหารคนให้บริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฏิสังขาน-
พละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ในพละ 2 อย่างนั้น
ภาวนาพละนี้เป็นพละของพระเสขะ ก็บุคคลนั้นอาศัยพละที่เป็นของพระ-
เสขะ ย่อมละราคะ ละโทสะ ละโมหะเสียได้เด็ดขาด ครั้นละราคะ
ละโทสะ ละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมไม่
เสพกรรมที่เป็นบาป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พละ 2 อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ 1